top of page

POLITICAL

ISSUE

POLITICAL ISSUE

สถาณการณ์การเมืองในอดีต

 

(สามารถข้ามเนื้อหาส่วนนี้ไปทาง Trivia ข้างล่างได้หากไม่มีความสนใจในเรื่องของเนื้อเนื่องแบล็คกราวน์)

ในช่วง 30ปี ก่อนหน้านี้ ประเทศมหาอำนาจอย่างอังกฤษ และ สก็อตแลนด์ ได้พบเจอกับ "Dazzling Blood Crissis" หรือ " วิกฤตเลือดศรวิษฐา" ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ชนชั้นสูง (Highborn) เหล่าเลือดทองคำและทองคำขาว ได้ทำการแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกันจนก่อเกิดเป็นสงครามภายในราชวงศ์และพวก Highborn ซึ่งวิกฤตเลือดศรวิษฐานั้นทำให้เกิดความเคลือบแคลงของพวก Low Born ต่อ High Born และยังทำให้มีการเปลี่ยนแปลงด้านสังคม เช่น การแต่งงานข้ามชนชั้นมากขึ้น และการเลื่อนยศทางตระกูล

ซึ่งในวิกฤตเลือดศรวิษฐามีเนื้อหาความสำคัญและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลักๆสองอย่างนั้นคือ 1 การแย่งอำนาจระหว่างสายเลือดขัตติยะด้วยกันเองของราชวงศ์อังกฤษ และ 2 การพยายามล้มล้างอำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์โดยเหล่าขุนนางของสก็อตแลนด์

ซึ่งเหตุการณ์เล่านั้นถูกบันทึกลงในประวัติศาสตร์ไว้ดังนี้

The Royal Monarch of England -  ‘ปฐมบทพระเจ้าแผ่นดินแห่งอังกฤษ’

ราชวงศ์อังกฤษในปัจจุบันคือราชวงค์ Guinevere (เจนีเวียร์) ซึ่งเล่าขานว่าสืบเชื้อสายมาจากราชินี เจนีเวียร์ ตามตำนานของกษัตริย์อาร์เธอร์และอัศวินโต๊ะกลม แต่นั่นก็เป็นเพียงตำนานเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ราชวงศ์เจนีเวียร์ถือเป็นราชวงศ์ที่เก่าแก่และได้ปกครองประเทศอังกฤษต่อจากราชวงค์ Regina (เรจิน่า) มาร่วมสามยุคสมัยแล้วจวบจนปัจจุบัน

        พระราชินี อาดาลินน์ ที่ 4 แห่งราชวงศ์เจนีเวียร์ทรงเป็นพระราชนัดดาพระองค์ใหญ่ใน  กษัตริย์คีธานน์ แห่งราชวงค์เรจิน่า พระองค์ได้ขึ้นครองราชตามพระกระแสรับสั่งสุดท้ายของพระราชปิตุลาก่อนจะทรงเสด็จสวรรคต เนื่องจากกษัตริย์คีธานน์ทรงไม่มีพระราชโอรสหรือพระราชธิดา  ด้วยเหตุนี้อำนาจของราชวงศ์เจนีเวียร์จึงกลับมา หลังจากห่างหายจากราชบัลลังก์ไปหลายสมัย

 

สำหรับตัวอาดาลินน์ที่ 4 นั้น พระองค์ทรงได้ขึ้นครองราชย์เป็นองค์ประมุขสูงสุด หรือเรียกได้ว่าทรงได้เป็นพระราชินีที่มีอำนาจมากกว่าหรือเทียบเท่ากับกษัตริย์ พระองค์ได้อภิเษกสมรสกับอาร์คดยุคผู้ปกครองเมืองแคนเทอร์เบอร์รี่ ก่อนจะมีพระประสูติกาล พระราชโอรสและพระราชธิดา จำนวน 3 พระองค์

หลังจากที่พระราชินี อาดาลินน์ที่ 4 เสด็จสวรรคต ข้อกังขาระหว่างความเหมาะสมของพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ คือ เจ้าหญิงอาดาลินน์ที่ 5 กับ พระราชโอรสพระองค์เล็ก เจ้าชายอัลม่า ก็เกิดขึ้น ทางขุนนางเริ่มแบ่งออกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งสนับสนุนเจ้าหญิงอาดาลินน์ อีกฝ่ายสนับสนุนเจ้าชายอัลม่า แต่ความขัดแย้งก็เกิดขึ้นได้ไม่นานนัก เมื่อคะแนนเสียงส่วนมากเริ่มส่งไปทางเจ้าหญิงอาดาลินน์ที่ 5 และเจ้าชายอัลม่าก็ถูกบีบบังคับให้สละพระอิสริยยศของพระองค์เอง ก่อนจะทรงหลบหนีหายไปจากพระราชวังในที่สุด

           ด้วยเหตุนี้เจ้าหญิงอาดาลินน์ที่ 5 จึงเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็น พระราชินีอาดาลินน์ที่ 5 โดยสืบต่อเจตจํานงค์ของพระราชมารดา ตั้งพระองค์เองเป็นพระประมุขของอังกฤษ และ อินเดีย

The Red Curtain Tragedy - 'โศกนาฏกรรมม่านแดง' [ค.ศ. 1855]

 

          พระราชินีอาดาลินน์ที่ 5 ทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดารวม 3 พระองค์ ได้แก่ เจ้าชายรัชทายาท อดัม, เจ้าหญิงพระองค์รอง วิคตอเรีย และ เจ้าหญิงพระองค์เล็ก อาดาลินน์-จูเนียร์ ตัวองค์รัชทายาทนั้นทรงเป็นนักกวี และ โปรดในงานเขียน ปรีชาด้านงานบริหารและการโน้มน้าวผู้คน ทำให้พระองค์ทรงเป็นที่รักของขุนนาง และ มีผู้สนับสนุนเป็นจำนวนมาก

 

           ทว่าในค่ำวันที่ 13 ตุลาคม โศกนาฏกรรมได้เกิดขึ้นในโรงละครหลวง

           เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 11 พรรษา ของเจ้าหญิง อาดาลินน์-จูเนียร์ ที่จะมีขึ้นในอีก 4 วัน  ทาง White Theatre หรือโรงละครพิสุทธิ์หลวง ได้จัดการแสดงละครเวที ซึ่งเป็นบทพระราชนิพนธ์ของเจ้าชายรัชทายาทอดัม  ขุนนางจำนวนมากเข้าร่วมชมการแสดงครั้งนั้น และต่างพากันยกย่องในฝีมือการประพันธ์และการกำกับของพระองค์

          เมื่อละครได้จบลง เจ้าชายอดัมทรงเสด็จขึ้นสู่เวทีพร้อมเจ้าหญิงวิคตอเรีย ซึ่งมีข้าหลวงนำช่อดอกไม้แสดงความยินดีติดตามขึ้นไปด้วย เสียงปรบมือดังขึ้นพร้อมเสียงแห่งความยินดี แต่แล้วเสียงเหล่านั้นก็หยุดลงเมื่อกระสุนปืนขนาด 38 มม. วิ่งตรงเข้ากลางพระนลาฏ (หน้าผาก) ของเจ้าชายรัชทายาทจากด้านหน้าจนพระโลหิตสาดกระเด็นเปรอะเปื้อนย้อมม่านสีขาวของโรงละครจนเป็นสีแดง

         เนื้อข่าวกล่าวว่าปืนสั้นกระบอกนั้นถูกซุกซ่อนไว้ในช่อดอกกุหลาบสีขาวที่ถูกนำมาถวายเพื่อแสดงความยินดีโดยข้าหลวงของเจ้าหญิงวิคตอเรีย ส่วนผู้ลั่นไกปืนเป็นบริวารของเจ้าชายอัลม่า ในขณะเดียวกันเจ้าหญิงวิคตอเรียซึ่งเห็นพระเชษฐาของพระองค์โดนลอบปลงพระชนม์ต่อหน้าพระพักตร์ ได้ทรงสิ้นพระสติและกลายเป็นเจ้าหญิงผู้มีพระสติฟั่นเฟือนและถูกบังคับให้สละพระอิสริยยศขององค์เองกลายไปเป็นเพียงสามัญชนในเวลาต่อมา ส่วนเจ้าหญิงอาดาลินน์ ซึ่งอายุห่างจากพระเชษฐาและพระเชษฐภคินี มากถึง 15 ปีนั้น ถูกลักลอบนำตัวออกจากโรงละครก่อนที่ปืนจะถูกเหนี่ยวไก และพาหลบหนีไปยังเมืองบ้านเกิด ณ แคนเธอเบอรี่

        ด้วยเหตุดังกล่าว อาร์คดยุค หรือ อดีตเจ้าชายอัลม่า จึงได้ก้าวขึ้นมารับอำนาจอีกครั้งโดยการสนับสนุนจากพระญาติฝ่ายราชวงค์เรจิน่า

The Return of Lastborn Queen - 'การกลับมาของราชินีอาดาลินน์ที่ 6' [ค.ศ. 1870]

       เจ้าหญิงอาดาลินน์ จูเนียร์ ใช้เวลามากถึง 15 ปีในการทวงความเป็นธรรมให้กับพระเชษฐาของพระองค์

       เท้าความถึงอดีต หลังจากที่เจ้าหญิงทรงหลบหนีไปอยู่แถบชานเมือง พระองค์ซึ่งอยู่ในฐานะ "The Rightful Heir” หรือ ผู้มีสิทธิ์สืบทอดราชบัลลังก์อันชอบธรรม ได้พยายามรวบรวมอำนาจ บุคลากรขุนนาง กำลังทางทหาร และความไว้วางใจจากประเทศพันธมิตรรอบๆข้าง พระองค์ซึ่งยังทรงพระเยาว์ ได้เติบโตมาด้วยความทะเยอทะยานและความมุ่งมั่น แต่ด้วยความที่ยังทรงพระเยาว์นี้เอง เจ้าหญิงอาดาลินน์จึงไม่สามารถขยับเขยื้อนได้มากนัก และยังทรงต้องยับยั่งชั่งพระทัยในหลายๆ ด้านอีกด้วย

         จนกระทั่งพระราชินีอาดาลินน์ที่ 5 พระมารดาของพระองค์เสด็จสวรรคตในช่วงเวลา 12 ปีให้หลัง เจ้าหญิงอาดาลินน์ที่ 6 ไม่ได้รับแม้แต่โอกาสเข้าเฝ้าพระมารดาของพระองค์ก่อนจะเสด็จสวรรคตและทางเจ้าชายอัลม่าก็ได้ทรงแต่งตั้งพระองค์เองขึ้นเป็นประมุขต่อ นั่นจึงเป็นฟางเส้นสุดท้ายสำหรับเจ้าหญิง ซึ่งในเวลานั้นเป็นจังหวะเดียวกันกับที่ทางเจ้าชายพระองค์ใหญ่ เจเวียร์-แจ็ค ดรัมมอน แห่งราชวงศ์วินสเตนเลย์ ของ สก็อตแลนด์กำลังประสบปัญหาภัยสงครามภายในบ้านเมืองตนเอง ได้ก้าวเข้ามาร่วมเป็นกำลังสนับสนุนซึ่งกันและกันให้แก่พระองค์พอดี

          โดยกำลังทหารและอำนาจของประเทศพันธมิตรอย่างสก็อตแลนด์ บวกเข้ากับพลังของเหล่าขุนนางข้าราชบริพารจากการสนับสนุนของตระกูลเบลไฟร์ อำนาจทางเศรฐกิจของตระกูลลาโดฟเวอร์ กำลังจากพระปัญญาที่เจ้าหญิงทรงมี และความไว้วางใจจากประเทศพันธมิตรรอบๆ ข้าง เจ้าหญิงอาดาลินน์ที่ 6 จึงสามารถรวบรวมผู้ที่สนับสนุนพระองค์ได้เป็นจำนวนมาก ทุกอย่างเกิดขึ้นอย่างช้าๆ และมั่นคง กระทั่งในเดือน ตุลาคม ของอีก 15 ปีถัดมาหลังจากการลอบปลงประชนม์เจ้าชายรัชทายาทอดัม เจ้าหญิงอาดาลินน์ก็ได้กลับคืนสู่พระราชวังของตน โดยที่ประชาชนและข้าราชบริพารของพระองค์ไม่ต้องเสียเลือดแม้แต่หยดเดียว ส่วนกษัตริย์อัลม่าก็ถูกถอดออกจากราชสมบัติในเดือนเดียวกันนั่นเอง

บัดนี้เจ้าหญิงพระองค์เล็กของราชวงศ์เจนีเวียร์ไม่มีอยู่อีกต่อไปแล้ว ต่อแต่นี้ไป พระองค์คือพระราชินี อาดาลินน์ ดาเลีย ที่ 6 แห่งราชวงค์เจนีเวียร์ พระราชินีแห่งอังกฤษและประมุขของอินเดีย

The Consequences of Traitor - ‘บทลงโทษของผู้ทรยศ’

 

หลังจากการขึ้นครองราชสมบัติของอาดาลินน์ที่ 6 องค์ราชินีใหม่ทรงรับสั่งถึงการสำเร็จโทษสายเลือดกบฎทั้งหมดเพียง 2 ตระกูลเท่านั้น

 

สมาชิกตระกูลเรจิน่าร์มีโทษประหารทั้งสิ้น โดยที่ไม่มีผู้ใดมีชีวิตรอดหลงเหลือแม้แต่เด็กหรือสตรี ส่วนตระกูลแบรธผู้ลอบปลงพระชนม์องค์ชายรัชทายาท ถูกกล่าวขานว่า “ผู้สังหารว่าที่กษัตริย์” ( The To Be King Killer )โดยไร้ซึ่งข้อกังขาใดใดจากขุนนางนกสองหัวที่ต้องการเอาตัวรอดทั้งๆที่ข้อเท็จจริงที่ว่าการลอบปลงพระชนม์กษัตริย์นั้นไม่สามารถเกิดขึ้นจากแผนการของตระกูลใดตระกูลหนึ่งได้ยังคงเป็นที่ตระหนัก

 

‘แค่เลือดของสองตระกูลนั้นก็มากเกินพอสำหรับการขึ้นครองราชย์ของเรา’ เป็นคำตรัสสองแง่สองง่ามของราชินีอาดาลินน์ที่ 6 ในวันที่การประหารเกิดขึ้นนั้น สายเลือดของตระกูลเรจิน่าร์ถูกประหารโดยการยิงเป้า คำขอร้องสุดท้ายของกษัตริย์อัลม่าคือการไม่ผูกผ้าปิดพระเนตรของพระองค์พร้อมการผูกร่างพระองค์ให้หันพระพักตร์เข้าหาปากกระบอกปืน ว่ากันว่าในวาระสุดท้ายของกษัตริย์ชราพระองค์ทรงทอดพระเนตรมองเข้าไปในดวงตาของเพชฌฆาตพร้อมตรัสคำสั่งลาไว้ว่า ‘จงดูเสีย นี่คือวาระสุดท้ายของกษัตริย์ของพวกเจ้า’

 

ส่วนบ้านแบรธนั้นถูกประหารให้ตายตกตามนายตนไปทั้งตระกูล มีเพียง 2 ชื่อที่ถูกละไว้ คือบุตรบุญธรรมของเจ้าบ้านคนก่อนหรือน้องชายของเจ้าบ้านคนปัจจุบัน ‘เทรวาน เท็นท์ แบรธ’ อีกชื่อนั้นคือนามของบุตรสาวบุญธรรมเพียงคนเดียวของเจ้าบ้าน ไทแรล แบรธ ‘เอียนลันต้า ซาร์ แบรธ’ ส่วนตัวไทแรลเองนั้น ถูกประหารแบบดั้งเดิมโดยการตัดศีรษะ

ในส่วนราชวงศ์ของสก็อตแลนด์นั้นกว่าจะถึงจุดที่กลายมาเป็นพันธมิตรของอังกฤษได้นั้นก็มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาของตนเองที่ซับซ้อนเช่นกัน

The Royal Clan of Highland 

ราชวงศ์แห่งไฮน์แลนด์เป็นดั่งขั้วอำนาจทางการเมืองของราชวงศ์อังฤกษมาอย่างช้านาน โดยที่ราชวงศ์ Winstanley (วินสเตนเลย์) คือราชศ์วงปัจุบันของพื้นที่ไฮน์แลนด์ ราชวงศ์วินสเตนเลย์จะสืบทอดชื่อกลาง Dummond (ดรัมมอนด์) จากรุ่นสู่รุ่นเพื่อเป็นหลักฐานแห่งสายเลือดสีทองคำขาว ส่วนตัวราชวงศ์นั้นแตกต่างจากทางอังกฤษ เพราะวินสเตนเลย์เป็นราชวงศ์เก่าแก่ ที่แม้จะเคยมีช่วงเวลาที่ห่างหายไปจากบัลลังก์ก็จริงแต่ราชวงศ์วินสเตนเลย์ได้กลับขึ้นมาครองบัลลังก์ใหม่ได้เกือบศตวรรตแล้ว โดยผู้มีสายเลือดแท้หรือผู้สืบทอดประเพณีชื่อกลางดรัมมอนด์ดังกล่าว เป็นผู้ขึ้นมาครองอำนาจเหนือบังลังก์ ตัวตระกูลในสามยุคสมัยก่อนหน้านี้นั้นเอง

 

ราชวงศ์วินสแตนเลย์ปกครองอาณาเขตไฮน์แลนด์โดยความสงบมาอย่างช้านาน จนกระทั่งถึงยุคสมัยของกษัตริย์ โรเจอร์ ดรัมมอร์น แห่งราชวงศ์วินสแตนเลย์ พระองค์ได้ทรงอภิเษกสมรสกับ เจ้าหญิงลาแอนน์ แม็คคลาฟลินน์ และ ทรงประสูติพระราชโอรส 3 พระองค์ ซึ่งเป็นแฝดเหมือน….

The War of Three Princes - 'สงครามสามรัชทายาท'

เนื่องจากการประสูติมาขององค์ชายทั้งสามพระองค์ ซึ่งเป็นฝาแฝดเหมือน โดยทรงประสูติห่างกันเพียง 1 นาทีเท่านั้น องค์ชาย อาร์ชิบาลด์ บลันด์วิน และ ซีแนด ต่างได้รับชื่อกลาง “Drummond” (ดรัมมอนด์) ทั้งสิ้น แต่เนื่องจากการที่องค์ชายทั้งสามพระองค์เกิดในเวลาใกล้เคียงกันมากและมีสถานะที่สามารถเป็นองค์ชายรัชทายาทได้ทั้งสิ้น ทำให้ทางราชวงศ์ไม่สามารถกำหนดตัวรัชทายาทที่แน่นอนตั้งแต่ต้นได้ และด้วยสถานการณ์ดังกล่าวจึงก่อให้เกิดชนวนความขัดแย้งขึ้น เหล่าขุนนางแบ่งออกเป็นสามฝ่าย แยกกันสนับสนุนและเป่าหูองค์ชายทั้งสามพระองค์แต่ยังทรงพระเยาว์

 

จากที่สามพระโอรสเคยทรงรักใคร่กันดีจึงเริ่มแตกแยก ตีตัวห่างออกจากกันเรื่อยๆ เสมือนฟางหนึ่งเส้นที่ค่อยๆ แตกออกทีละนิด ซีแนด องค์ชายพระองค์สุดท้องนั้นทรงเฉลียวฉลาดยิ่งกว่าใครและเป็นที่ยกย่องในการวางแผน  บลันด์วิน องค์ชายพระองค์รอง ทรงปรีชาด้านการรบและเป็นที่ชื่นชมจากทหารและนักสู้มากมายถึงความสามารถของพระองค์ ส่วนตัว อาชิบาลด์ องค์ชายพระองค์ใหญ่นั้นกลับไม่ได้มีความสามารถที่โดดเด่นไปทางด้านใดมากนัก แต่พระองค์ทรงมีพระจิตที่งดงามและทรงเป็นผู้นำที่เสียสละ และด้วยจุดนั้นกระมังที่ทำให้ตัวกษัตริย์โรเจอร์ได้ตัดสินพระทัยในบางสิ่งลงไป

 

ฟางเส้นสุดท้ายได้ขาดลง เมื่อแฝดพี่พระองค์ใหญ่..องค์ชายอาร์ชิบาลด์ นั้นได้รับตำแหน่ง Crowned Prince หรือ องค์ชายรัชทายาท อย่างไรก็ตามการเลือกนี้ องค์ชายอาร์ชิบาลด์ซึ่งรักพี่น้องของตนยิ่งกว่าสิ่งไหนในโลกนี้ไม่เห็นด้วยแต่อย่างใด

 

ต่อมากษัตริย์โรเจอร์ได้ทรงพระประชวรตามกาลเวลา ข่าวสารแพร่กระจายไปทั่วราชสำนัก แพทย์หลวงกล่าวไว้ว่ากษัตริย์โรเจอร์จะไม่สามารถมีชีวิตอยู่รอดพ้นถึงหนึ่งเดือน จุดนั้นเองที่ทำให้เจ้าชายพระองค์เล็กทั้งสองพระองค์หันดาบเข้าหากัน การประทะระหว่างเจ้าชายทั้งสองเกิดขึ้นในพระราชวังอันเป็นที่ประทับของราชวงศ์ ดาบลองสซอร์ดอันเป็นสัญญลักษณ์แทนไฮน์แลนด์ปะทะกัน ส่งเสียงของเหล็กกล้าที่ประทบเนื้อไปทั่ว

 

การปะทะจบลงเมื่อดาบทั้งสองเล่มฟาดฟันเข้าสู่ร่างขององค์ชายอาร์ชิบาลด์ ฝาแฝดองค์โตซึ่งเข้ามาห้ามการฆ่าฟันระหว่างสายเลือดเดียวกันเอง สิ่งที่พระองค์ตรัสทิ้งไว้ก่อนจากโลกไปนี้คือ ‘บัลลังค์นั้นมันไม่เห็นน่านั่งตรงไหนเลย หากมันอาบไปได้ด้วยเลือดของพี่น้อง’

 

และจากเหตุการณ์การครั้งนั้น ด้วยความรู้สึกผิดบาปที่ไม่สามารถยกโทษให้ความผิดที่ตนเองได้ทำลงไปได้ องค์ชายซึ่งเป็นฝาแฝดคนน้องทั้งสอง Sworn Oath หรือ ให้คำสัตย์ปฎิญาณว่ าจะไม่ขึ้นครองราชย์ต่อจากกษัตรย์โรเจอร์ไม่ว่าจะด้วยเหตุใดก็ตาม โดยจะรอให้โอรสเพียงองค์เดียวขององค์ชายอาร์ชิบาลด์ขึ้นแทนเท่านั้น หลังจากที่กษัตรย์โรเจอร์ทรงรับรู้ข่าวหลังจากอาการดีขึ้นก็ทรงเสียพระทัยเป็นอย่างมาก แต่พระองค์ยังคงรับฟังคำขอของพระโอรส ด้วยเหตุนี้ตำแหน่งผู้สืบทอดมงกุฎจึงต้องเป็นของ Abraham Drummond Winstanley โอรสเพียงผู้เดียวขององค์ชายอาร์ชิบาลด์

 

จากเหตุการณ์ทะเลาะเบาะแว้งกันเองของสมาชิกภายในราชวงศ์ที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ทำให้ราชวงศ์ Winstanley นั้นให้ความสำคัญต่อสายสัมพันธ์ของพี่น้องและคนในตระกูลเป็นอย่างมาก เหล่าทายาทรุ่นหลังๆ ที่เกิดในรุ่นเดียวกันในตระกูลจะถูกเลี้ยงดูมาให้เหมือนเป็นพี่น้องกันโดยตรง แม้เป็นเพียงแค่ลูกพี่ลูกน้องกันก็ตาม

The Golden Thrones Massacre - 'การสังหารหมู่บัลลังก์สีทอง' [ค.ศ. 1866]

 

โอรสเพียงพระองค์เดียวขององค์รัชทายาท (Crown Prince Archibald) ทรงมีพระนามว่า Abraham (อับบราฮัม) โดยที่มีพระราชโอรสและพระราชธิดาขององค์ชายบลัดวินน์และองค์ชายซีแนด องค์ชายมาร์ค  องค์หญิงลาแอนน์ ที่ 2 และ องค์ชายอาร์ชิบาลด์ที่ 2 เป็นพระภราดรและพระภคินี อับบราฮัมได้รับตำแหน่ง Crown Prince ตั้งแต่ยังเด็ก เลยถูกกวดขันแกมบังคับในด้านต่างๆแต่ยังทรงพระเยาว์ ซึ่งส่งผลให้เจ้าตัวเป็นเด็กที่เกเรและก่อเรื่องไม่สมควรมากมายไว้ในวังหลวง ด้วยความประพฤติที่ไม่เหมาะสมกับการขึ้นเป็นผู้ปกครองประเทศนี้ ตำแหน่ง Crown Princeขององค์ชาย Abraham ได้เป็นกลายเป็นข้อกังขาในหมู่ตัวขุนนางที่แยกเป็นหลายฝ่าย คอยสนับสนุนองค์ชายคนน้องทั้งสองพระองค์ ทว่าด้วยความที่สายพระราชสกุลขององค์ชายทั้งสองนั้นได้ Sworn Oath ไว้แล้วว่าจะไม่ขึ้นครองราชบัลลังก์อีก ผนวกกับการที่ตัวอับบราฮัมเป็นคนรักพี่น้องและสนิทกับญาติพี่น้องรุ่นราวคราวเดียวกันทุกคน การผลักดันของทางขุนนางจึงไร้ความหมาย และตัวองค์ชาย Crown Prince คนปัจจุบันก็ทั้งดื้อรั้นและไม่โลภในอำนาจใด จนยากที่จะให้ขุนนางฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหาผลประโยชน์ได้

 

จากจุดนี้เอง ความเป็นปึกแผ่นของราชวงศ์ Winstanley ทำให้เกิดเป็นการรวมตัวของฝ่ายขุนนางอย่างลับๆ

 

ในวันเกิดครบรอบ 18 พรรษา ของเจ้าชาย อับราฮัม (Abraham) หรือวันที่ย่างก้าวเข้าสู่วัยที่ทรงสามารถขึ้นครองราชย์ได้ ตัว อับราฮัมได้หลบหนีออกจากพระราชวังไป การหลบหนีของตัวรัชทายาททิ้งให้บังลังก์ว่างอย่างไร้จุดหมาย ถึงแบบนั้นก็ไม่มีสมาชิกในราชวงศ์คนใดก้าวขึ้นมารับตำแหน่งแทน เนืองจากสัญญาที่องค์ชายทั้งสองพระองค์ได้ให้ไว้ กษัตริย์โรเจอร์จำใจต้องรักษาตำแหน่งแทนไว้ตามเดิมด้วยร่างกายที่เริ่มชราภาพเต็มทีแล้ว

 

ตัวองค์ชายอับราฮัมหนีข้ามน้ำข้ามทะเลไปฝรั่งเศส และได้พบรักกับองค์หญิงวิเวียน (Vivian) จากราชวงศ์ฝรั่งเศส และได้พาองค์หญิงวิเวียนหนีตามกันไปใช้ชีวิตอยู่ที่เมืองบ้านนอกในฝรั่งเศส ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้ทางราชวงศ์ฝรั่งเศสเป็นอย่างมาก จึงได้ประกาศตัดขาดจากทั้งตัวองค์หญิงและทางสก๊อตแลนด์ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ทั้งสองต้องใช้ชีวิตหนีตามการไล่ล่าของทหารอยู่หลายปีก่อนที่องค์หญิงวิเวียนจะให้กำเนิดบุตรชายเจมส์-จาร์เควส(James-Jacques)ขึ้น ทั้งสามใช้ชีวิตอย่างยากลำบากจากการหลบหนี และเหยียดหยามของชาวบ้านในแถบนั้น เมื่อเจมส์-จาร์เควสยังเล็กอยู่ ตัวองค์ชายอับราฮัมได้รับข่าวถึงอาการที่ซูบลงของกษัตริย์โรเจอร์  องค์ชายอับราฮัมจึงต้องกลับถิ่นฐานของตน โดยที่พระองค์ทรงพาบุตรชายนอกสมรสซึ่งมีสถานะเป็นบัสตาร์ดไปด้วย เพราะมีดวงตาของมารดาและรู้ดีว่าลำพังตัววิเวียนไม่สามารถเลี้ยงบุตรชายคนนี้ได้โดยลำพัง คำสัญญาระหว่างเจ้าชายอับบราฮัมและเจ้าหญิงวิเวียนถึงการอภิเสกสมรสจึงเกิดขึ้น พร้อมกับคำสัญญาว่าจะทำการ Legitimized เจมส์-จาร์เควสให้เป็นบุตรโดยชอบธรรมเมื่อตนขึ้นเป็นกษัตริย์

 

แต่นั่นก็เป็นเพียงได้แค่สัญญาเท่านั้น

 

[ค.ศ. 1858] เมื่ออับบราฮัมกลับมายังพระราชวังหลวง กษัตริย์โรเจอร์ไม่พอใจในการกระทำของอัมบราฮัมเป็นอันมาก และกษัตริย์ชราทรงรับสั่งว่าที่ยอมรับอับบราฮัมกลับมานั้นเพราะสถานะ Crown Prince เท่านั้นส่วนบัสตาร์ดคนนี้ พระองค์จะไม่ยอมรับไม่ว่าในกรณีใดใดทั้งสิ้น บัสตาร์ด เจมส์-จาร์เควส ไลออน ผู้ซึ่งอายุยังน้อย ถูกนำกลับมาเลี้ยงที่พระราชวังในฐานะบัสตาร์ด โดยที่ถูกเลี้ยงไว้ในป้อมปราการทหารรับใช้เหมือนกับทหารยามคนอื่นๆ และได้รับการปฏิบัติเยี่ยงบัสตาร์ดทั่วไป อย่างไรก็ตามเหล่าพระบรมวงศานุวงศ์ทั้งหลายยังคงมาแวะเยี่ยมเยียนเพราะถือเป็นครอบครัว ผนวกกับความเป็นไปได้ที่ตัวบัสตาร์ดเจมส์-จาเควสจะได้ขึ้นเป็นองค์รัชทายาทหลังจากที่เจ้าชายอับบราฮัมขึ้นครองราชย์ ยิ่งสร้างความไม่พอใจให้เหล่าขุนนางอย่างทวีคูณ ความคิดที่ว่าเลือดโคลนจะมีโอกาสได้เป็นผู้ถือครองบังลังก์แห่งไฮแลนด์เป็นตัวจุดชนวนสำคัญในการปฏิวัติของเหล่าขุนนาง และด้วยความแก่ชราและสุขภาพที่อ่อนแอเต็มทีของกษัตริย์โรเจอร์ เหล่าขุนนางจึงได้รวมตัวกันเป่าหูกษัตริย์ชราและเริ่มยึดกุมอำนาจจากราชวงศ์ที่สนับสนุนองค์ชายอับราฮัมอย่างลับๆ

 

[ค.ศ. 1866] เวลาผ่านไปหลายปีกว่าอับราฮัมจะถูกยอมรับเพียงพอในฐานะ Crown Prince อีกครั้ง และด้วยการจากไปของกษัตริย์โรเจอร์ เจ้าชายอับบราฮัมจึงเข้าพิธีปราบดาภิเษกตำแหน่งกษัตริย์ของตน ในวันปราบดาภิเษก พิธีการถูกดำเนินไปอย่างราบรื่น มีการจัดขบวนทหารเดินสวนสนามอย่างสมเกียรติ เสียงแตรเป่าประกาศถึงเวลาที่มงกุฎกษัตริย์จะถูกสวมลงบนศรีษะของอับรามฮัม องค์ชายรัชทายาทผู้ได้เปลี่ยนเป็นกษัตริย์นั่งลงบนบัลลังก์สีทองของราชวงศ์วินสเตนเลย์ ด้ามปืนถูกเชิดขึ้นฟ้าโดยเหล่ากองทหารม้าที่ทำความเคารพ เหล่าญาติพี่น้องในรุ่นราวคราวเดียวกันต่างยืนพร้อมหน้าแสดงถึงความปีติยินดี แต่แล้วในวินาทีที่ไกปืนควรถูกเหนี่ยวยิงขึ้นฟ้า ด้ามปืนของเหล่ากองทหารกลับถูกลดลง ปลายกระบอกปืนหันมาทางลานพิธี กระสุนนับร้อยถูกลั่นออกจากลำปืนตรงเข้าสู่สายเลือดขัตติยะแห่งราชวงศ์วินสเตนเลย์ด้วยฝีมือของเหล่าขุนนางตระกูล McMoriarty

 

กษัตริย์อับบราฮัมสวรรคตบนบัลลังก์ของตน

 

พระบรมวงศานุวงศ์แทบทุกพระองค์ที่เข้าร่วมงานพิธีในครั้งนั้นล้วนถูกปลงพระชนม์พร้อมกษัตริย์อับบราฮัมแทบทั้งสิ้น เลือดศรวิษฐาแห่งวินสแตนเลย์อาบไปทั่วลานพิธีบังลังก์สีทอง

 

ทำให้สายเลือดขัตติยะของสก็อตเหลือแค่เหล่าทายาทรุ่นหลังที่ไม่ได้เข้าร่วมยืมแสดงความยินดีเท่านั้น เหล่าทายาทแห่งวินสแตนเลย์ต่างถูกเหล่าองค์รักษ์และขุนนางภักดีคนสนิทพาหลบหนี แต่ไม่ใช่ทุกคนที่มีโอกาสผ่านรั้วของพระราชวัง อำนาจแห่งกษัตริย์ตกไปอยู่ในเงื้อมมือของคนนอกราชวงศ์ สร้างความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและเศรษฐกิจครั้งยิ่งใหญ่ให้กับสก็อตแลนด์ การจลาจลเริ่มเกิดขึ้นนอกรั้ววัง เหล่าสายเลือดชั้นสูงต่างได้รับผลกระทบจากการโค่นล้มอำนาจสายเลือดขัตติยะในครั้งนี้ อำนาจของดยุคและดัชเซสที่ปกครองแต่ละเมืองได้รับการสั่นคลอน

 

ในส่วนของทายาทแห่งวินส์แตนเลย์นั้น แต่ละคนมีชะตากรรมที่แตกต่างกัน และชะตากรรมเหล่านั้นได้กลายเป็นเรื่องราวกล่าวขานสืบมา แต่หากจะมีชื่อใดถูกกล่าวถึงมากที่สุดทั้งในด้านลบและด้านบวก ก็คงจะเป็นบัสตาร์ดเจมส์-จาเควส (James-Jacques) ผู้ที่เหมือนเป็นสาเหตุหนึ่งของสงครามภายในครั้งนี้

The Returning of Winstanley's Throne - 'การทวงบัลลังก์ของราชวงค์วินสแตนเลย์'

 

สายเลือดขัตติยะแห่งวินสแตนเลย์ใช้เวลากว่า 6 ปี เพื่อกลับสู่บัลลังก์ของตน หลังจากช่วงเวลาแห่งโศกนาฏกรรมทายาทแต่ละคนต่างแยกย้ายกันไปคนละทางเพื่อความปลอดภัย โดยที่ต่างคนต่างทำหน้าที่ในแบบของตนเองเพื่อให้อยู่รอดได้ในช่วงเวลาที่ไม่มีซึ่งครอบครัวและเกราะกำบังทางสายเลือดใดๆ บ้างถูกเชื่อว่าเสียชีวิตในการเดินทาง บ้างก็หายสาบสูญ

 

องค์ชายพระองค์โต ซาร์เวียร์-แจ็ค (Xavier-Jack) หลบหนีไปพร้อมหัวหน้าคิงส์การ์ดคนก่อนและมาร์ควิส เออร์คาร์น บลัดเวิร์ธ ผู้ซึ่งเป็นเจ้าบ้านตระกูลรับใช้องค์ชายอาชิบาลด์ ที่ 2 โดยที่หลังจากการหลบพักช่วงหนึ่ง กระทั่ง [ค.ศ. 1867] ตัวซาร์เวียร์-แจ็คเข้ากับทางกองกำลังของอาดาลินน์ที่ 6 โดยที่คุยเจรจาใช้เวลาเกลี้ยกล่อมอยู่เป็นปีกว่าจะได้รับความไว้วางใจเข้ามาเป็นพันธมิตร ซาร์เวียร์-แจ็คช่วยเหลืออาดาลินน์ในด้านการรวมเสียงสนับสนุน และได้กลายเป็นผู้ดูแลเรื่องกำลังทหารของอาดาลินน์ในช่วงการทวงคืนบัลลังก์ของนาง ในระหว่างเดียวกันนั้นพระองค์ทรงวางการทหารและรวบรวมกำลังของตนเองด้วยเช่นกัน  ซาร์เวียร์-แจ็คและอาดาลินน์ใช้เวลาด้วยกันในฐานะพันธมิตรสงครามเป็นเวลาร่วม 5 ปีเต็ม จึงมีข่าวลือกันว่ามีความสัมพันธ์ลึกซึ้งระหว่างกัน ในภายหลังจากที่อาดาลินน์ที่ 6 ขึ้นครองราชย์ ทรงส่งกำลังสนับสนุนส่วนหนึ่งมาช่วยในเรื่องของกำลังรบที่จะเอาบัลลังก์คืนในสงครามใหญ่ ที่ถูกเรียกขานกันว่า ‘The Riot of Edinburgh’


 

องค์หญิงคนรอง ฟีโรเซีย-โซเฟีย (Ferocia-Sophia) นั้นโชคไม่ดีนักเพราะไม่สามารถหลบหนีจากการกบฎได้ เธอถูกจับเป็นตัวประกันของขุนนางไว้ที่วังหลวง ณ Edinburgh  และถูกบังคับให้หมั้นหมายกับทางขุนนางฝ่ายกบฎ เพื่อที่จะเลื่อนลำดับสายเลือดของตนเองให้เป็นสายเลือดสีทองคำขาว โดยที่ตัวพระองค์ถูกกักขัง ทรมาน ใช้เป็นเครื่องมือการรบและการเจรจาต่างๆ พระองค์อยู่โดยที่มีผู้เฝ้าติดตามเป็นอดีตทหารองครักษ์ จนถึงช่วงการปฎิวัติบัลลังก์คืนเกิดขึ้น กองกำลังขององค์ชายซาเวียร์เข้าฝ่าฟันพังกำแพงเมืองเข้ามาได้ จนเกิดเป็น Riot of Edinbugrhในขณะที่ทางกองกำลังกบฏของบัสตาร์ดเจมส์-จาเควสในกลาสโกวได้รับชัยชนะเหนือการปกครองของขุนนางในเหตุการณ์ The Conquest of Brutas เจ้าหญิงฟีโรเซีย-โซเฟียถูกสั่งประหารเพื่อเป็นสัญญาณสั่งถอยต่อเหล่ากองกำลังวินสแตนเลย์ เจ้าหญิงฟีโรเซีย-โซเฟียทรงพยายามหลบหนีออกมาแต่ก็พบกับความโหดร้ายระหว่างหลบหนี ในตอนแรกพระอนุชาของนาง องค์ชายคนโต ซาร์เวียร์-แจ็ค และ พี่ชายบัสตาร์ดเจมส์-จาร์เควสเข้าใจว่าเธอเสียชีวิตระหว่างหลบหนี แต่ทว่าเธอยังคงมีชีวิตอยู่และกลับมาพบหน้าพี่น้องของตนในวันสงครามใหญ่ The Sacrificed of John

 

องค์ชายคนกลางจอนห์-เจคอบ(John-Jacob) ซึ่งมีสติปัญญาอันชาญฉลาดหลบหนีไปทางไอร์แลนด์ โดยที่ทำข้อตกลงให้ทางไอร์แลนด์นำตนเองเป็นตัวประกันแลกกับกำลังทหารไอร์แลนด์ภายใต้การนำขององค์หญิงคลีโอด์นา ดัล เรียตา-ออสเรจน์แห่งไอร์แลนด์ พร้อมกับใช้ความสามารถทางการพูดการเจรจาคอยส่งกองกำลังไปช่วยพระอนุชาคนโต และ พี่ชายบัสตาร์ดขอตนเองในการรบ นอกจากนี้พระองค์ยังเป็นผู้ติดต่อทำการเจรจาระหว่างประเทศในช่วงที่อาดาลินน์ต้องการกองกำลังและเสียงสนับสนุนอีกด้วย ในการรบครั้งสุดท้ายที่วังหลวงพระองค์ทรงออกอุบายให้ทางขุนนางจับตนเป็นตัวประกัน เพื่อเป็นฝ่ายเปิดประตูวังหลวงให้กับพระอนุชาและพี่ชายของตน อย่างไรก็ตามจุดจบของพระองค์นั้นไม่ใช่เรื่องที่ถูกขานกล่าวนัก เพราะมันคือโศกนาฏกรรมในสงคราม

 

องค์หญิงคนเล็ก เฟ็มเม็ตต้า-เฟรม (Fiammetta-Flame) นั้นมีสถานะเหมือนคนตาย โดยที่หายสาบสูญไปพร้อมกับ แอสแทร์เรียส ฟอร์ลอส หรือ บุตรีคนสุดท้ายของตระกูลสวอนชิลด์ ผู้คนส่วนมากเข้าใจว่าเธอเสียชีวิตไปแล้ว แต่แท้จริงแล้วเธอหลบหนีไปยังโรมาเนียในช่วงที่มีสงครามภายในพอดี เธอใช้ชีวิตแบบหลบๆซ่อนๆและอยู่รอดอย่างยากลำบากเพียงลำพังหลังจากการแยกจากกันกับผู้ติดตามของเธอ องค์หญิงเฟ็มเม็ตต้า-เฟรมจึงใช้เวลาทั้งหมดของเธอเติบโตที่โรมาเนียในฐานะทหารที่มีสถานะเหมือนสามัญชน เธอเข้ากับทางกบฎของสหรัฐโรมาเนีย ก่อนที่ภายหลังจะกลับมาพบกับผู้ติดตามของเธอ และได้เดินทางกลับมาสมทบกับฝ่ายพี่ชายบัสตาร์ดที่กลาสโกวหลังจาก The Conquest of Brutas และ ก่อนสงครามใหญ่ The Sacrificed of John

 

บัสตาร์ดเจมส์-จาร์เควส ผู้ที่เหมือนจะถูกตราหน้าว่าเป็นหนึ่งในสาเหตุที่บัลลังก์วินสแตนเลย์ต้องอาบเลือดอีกครั้งหลบหนีไปตั้งหลักในพื้นที่ป่าเขาและใช้ชีวิตอย่างยากลำบากเสมือนไม่มีตัวตน โดยที่สวมรอยในฐานะคนจรจัดอยู่แบบเงียบๆคอยหนีทหารของขุนนางเป็นเวลา 2 ปี ข่าวลือส่วนมากกล่าวถึงการเสียชีวิตของเขาในป่าและชานเมือง แต่เมือเรื่องการตามหาบัสตาร์ดแห่งวินสแตนเลย์เริ่มเงียบลงพร้อมกับความยากลำบากและไฟสงครามกลางเมืองระหว่างประชาชนกับขุนนางที่เริ่มลุกลาม [ค.ศ. 1868] เจมส์-จาร์เควสตัดสินใจลุกขึ้นสู้กับเหล่าขุนนางเพื่อทวงคืนบ้านให้แก่ครอบครัวของเขาและประชาชน เขาเดินทางไปกลาสโกว เมืองซึ่งครั้งหนึ่งดยุคแห่งบ้านเดรย์ซซึ่งเป็นตระกูลรองของวินสแตนเลย์เคยยิ่งใหญ่แต่ตอนนี้กำลังประสบกับปัญหาการเปลี่ยนอำนาจ เมืองที่เคยเป็นเมืองแห่งเศรษฐกิจสำคัญของไฮแลนด์เต็มไปด้วยสลัมและชาวเมืองที่แบ่งแยกกันออกไปเป็นฝักฝ่าย  บัสตาร์ดหนุ่มเล็งเห็นถึงสภาพที่ผู้คนแตกออกเป็นฝั่งๆ ประชาชนย่ำแย่จนก่อเกิดเป็น Criminal Gang ขึ้นในสลัมเพื่อต่อต้านอำนาจขุนนาง โดยที่มี Gang of Glasgow ในสลัมแบ่งเป็นสามอำนาจหลัก เมื่อเล็งเห็นถึงจุดหมายที่คล้ายคลึงกันของทั้งสามฝ่าย [ค.ศ. 1869-1870] เจมส์-จาร์เควสวางแผนโน้มน้าวทั้งสามกลุ่มเพื่อก่อตั้งกลุ่มกบฏบรูตัส(Brutus) และต่อมาในปี [ค.ศ. 1871] ก็ยึดอำนาจคืนจากขุนนางในเมืองได้สำเร็จ หลังจากเหตุการณ์ The Conquest of Brutas กองกำลังของบรูตัสจึงมุ่งหน้าสู่ Edinburgh เตรียมเข้าไปร่วมสมทบกับกองกำลังขององค์ชายซาร์เวียร์-แจ็คในการบุกยึดบังลังก์คืนจากเหล่าขุนนาง

The Sacrifice of St. John - การเสียสละของนักบุญจอนห์ [ค.ศ. 1871]

 

‘ทะเลโลหิตย่อมแลกด้วยทะเลโลหิต’

 

ในสงครามครั้งสุดท้ายก่อน 'การทวงบัลลังก์ของราชวงค์วินสแตนเลย์’ จะสำเร็จนั้น ราชวงค์วินสแตนเลย์ได้สูญเสียไปอย่างมากมาย เมื่อกองกำลังทหารขององค์ชายซาร์เวียร์-แจ็คฝ่าด่านประตูเมืองเข้ามาก่อการลุกฮือขึ้นในตัวเมืองหลวงได้สำเร็จ ในขณะที่เหล่า Gangs of Glasgow ทำการยึดอำนาจคืนจากขุนนางได้ ทางขุนนางใหญ่ ณ วังหลวงของ Edinburgh จึงสั่งประหารตัวองค์หญิงฟีโรเซีย-โซเฟียทันที การหลบหนีกระทันหันจึงเกิดขึ้นในช่วงเวลาอันสั้น ผู้เฝ้าติดตามของนางจึงออกอุบายให้ตัดผมของเจ้าหญิงเสีย แล้วแสร้งว่าคำสั่งประหารเสร็จสิ้น ด้วยความช่วยเหลือของผู้ติดตามองค์หญิงจึงหนีรอดไปได้พร้อมบาดแผลภายในใจที่ไม่สามารถทวงคืนได้ ช่วงเวลาเดียวกันนั้นทางขุนนางใหญ่ที่เข้าใจว่าองค์หญิงฟีโรเซียได้สิ้นพระชนม์ก็ได้ทำการส่งจดหมายเตือนไปทางกองกำลังวินสเตนเลย์

 

ผ้าปูที่นอนสีขาวครีมเปื้อนคราบเลือด 1 ผืน กับเส้นผมสีแดงถูกส่งไปยังค่ายทหารขององค์ชายซาร์เวียร์-แจ็ค ในระหว่างที่เสื้อผ้าที่ถูกฉีดจนขาดวิ่นขององค์หญิงถูกส่งไปยังเมืองกลาสโกว ที่ที่กองกำลังบรูตัสของบัสตาร์ดเจมส์-จาเควสตั้งฐานอยู่

 

สิ่งของของน้องสาวที่ถูกส่งมาหนักอึ้งในมือของพี่ชายทั้งสอง เขาทั้งสองรู้ดีว่าเกิดอะไรขึ้นกับองค์หญิงฟีโรเซีย และตระหนักว่าเหล่าขุนนางขู่พวกเขาถึงการสูญเสียอื่นที่จะตามมาหากกองกำลังทั้งสองเคลื่อนทัพ แต่กลับกัน สิ่งของส่วนพระองค์ขององค์หญิงฟีโรเซียนั้นกลายเป็นตัวจุดชนวนการเคลื่อนทัพทหารของซาร์เวียร์-แจ็คและกองกำลังบรูตัสของเจมส์-จาร์เควสในการบุกเข้าตัววังหลวง แต่ว่าเมื่อทัพจากทั้งสองฝ่ายมารวมตัวกันล้อมเมือง Edinburgh ทัพทั้งสองก็ได้พบกับข้อเท็จจริงที่ว่าประตูวังนั้นยังคงตั้งตระหง่านและมิอาจเข้าถึงได้

 

องค์ชายจอนห์-จาคอบซึ่งอยู่ในระหว่างการเสด็จกลับมาสมทบกับทางพระอนุชาของพระองค์ทรงเห็นถึงปัญหาดังกล่าว พ่วงด้วยความร้อนอกร้อนใจของฝ่ายขุนนางหลวง พระองค์จึงจงใจปล่อยสถานที่พักพิงชั่วคราวของตนเองเพื่อให้ฝ่ายขุนนางเข้ามาจับกุมตนเองสู่วังหลวง ด้วยความไม่ทันฉุกคิด องค์ชายคนรองจึงถูกนำพามายังวังหลวงในเวลาไม่นานด้วยฐานะตัวประกันในระหว่างที่กองทัพทั้งสองยังคงขนาบข้างคูเมือง แผนขององค์ชายจอนห์-จอคอบสำเร็จเมื่อประตูวังถูกเปิดออกจากข้างในปล่อยให้กองทัพของซาร์เวียร์-แจ็คและเจมส์-จาร์เควสหลั่งไหลสู่ภายในปราสาท

 

แต่ในชั่ววินาทีที่สายเลือดแห่งวินสแตนเลย์ได้กลับมาพบกันพร้อมหน้าในรอบ 6 ปีที่จากลา สิ่งที่พวกเขาได้รับคือน้ำตา

 

องค์ชายจอนห์-จอคอบซึ่งหลบหนีจากที่กักขังและเป็นผู้เปิดประตูจากภายในพยายามหลบหนีท่ามกลางความฉุกละหุกและการต่อสู้ พระองค์ทรงหลบหนีมายังลานกว้างหน้าปราสาท เจมส์-จาร์เควสผู้ซึ่งกำลังต่อสู้อยู่ในบริเวณนั้นสังเกตถึงน้องชายของตนที่กำลังวิ่งเข้ามาหา แต่ที่ตัวเขาไม่ได้สังเกตคือปากกระบอกปืนที่เล็งเข้าหาองค์ชายตัวน้อย

 

มือของทั้งสองห่างกันเพียงหนึ่งลมหายใจ แต่ไม่อาจสัมผัสได้ กระสุนปืนยาวขนาม 42 มม. ทะลุผ่านร่างขององค์ชายคนรองไปตรงบริเวณใกล้หัวใจ ซาร์เวียร์-แจ็คชะงักไปกับภาพตรงหน้า บัสตาร์ดแห่งวินสแตนเลย์รับร่างที่ร่วงหล่นขององค์ชายวัยเยาว์ไว้ในอ้อมกอด คำพูดเชิงปลอบประโลมถูกพูดซ้ำไปซ้ำมาในระหว่างที่องค์ชายคนโตทรุดลงกับพื้นหินชันของปราสาทด้านใน

 

ภาพที่องค์หญิงเฟ็มเม็ตต้าทรงทอดพระเนตรเห็น คือบัสตาร์ดเจมส์-จาร์เควสกอดร่างไร้วิญญาณของน้องชายต่างสายเลือดด้วยน้ำตาอาบสองแก้มและมือที่เปื้อนไปด้วยโลหิตทองคำขาว

 

‘ผู้สังหารเชื้อพระวงศ์ มีโทษสมควรตาย’ เป็นประโยคคำสั่งแรกและคำสั่งสุดท้ายของบัสตาร์ดเจมส์-จาร์เควสในฐานะของวินสแตนเลย์ ‘ไม่มีนักโทษ จับตายทั้งสิ้น’ สิ้นเสียงคำสั่งดังกล่าวสงครามครั้งสุดท้ายของวิกฤตเลือดศรวิษฐาก็จบลงด้วยทะเลเลือดและดินปืน พร้อมด้วยน้ำตาและเสียงร่ำไห้ของสายเลือดและผู้ภักดีแห่งวินสแตนเลย์ที่สูญเสียสิ่งสำคัญไปตลอดกาล ทั้งๆที่ทุกอย่าง ทุกการเสียสละและการฝ่าฟันที่ได้ทำมาทั้งหมดนั้นเพื่อสิ่งสิ่งเดียว และ สิ่งนั้นคือ ‘ครอบครัว’

 

หลังจากพระราชพิธีศพองค์ชายจอนห์-จาคอบได้ 1 ปี [ค.ศ. 1872] ซาร์เวียร์-แจ็คได้รับการปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์คนปัจจุบันของสก็อตแลนด์ ส่วนบัสตาร์ดเจมส์-จาร์เควสปฎิเสธการ Legetimized ใดใด

NOW A DAY: Star Crossed Cold War - 'สงครามเย็นแห่งโชคชะตา' [ค.ศ. 1872]

ในวันพิธีปราบดาภิเษกแห่งกษัตริย์ซาร์เวียร์-แจ็ค มีการนัดหมายการเซ็นสัญญาพันธมิตรระหว่างอังกฤษและสก็อตแลนด์โดยกษัตริย์และราชินีของทั้งสองประเทศ หลังจากที่ Treaty of Two Land ถูกเซ็นและประทับตรา กษัตริย์ซาร์เวียร์-แจ็คทรงทิ้งพระชงฆ์ลงหนึ่งข้างต่อหน้าพระพักตร์องค์ราชินีอาดาลินน์ที่ 6 พระหัตถ์ของกษัตริย์ประคองพระหัตถ์เล็กขององค์ราชินีก่อนที่ราชาแห่งไฮแลนด์จะเอ่ยขอวโรกาสต่อองค์ราชินีอาดาลินน์ ในการอภิเสกสมรส

 

‘ไม่’ องค์ราชินีอาดาลินน์ที่ 6 แห่งอังกฤษตอบ

 

คำปฏิเสธขององราชินีแห่งอังกฤษสร้างความตื่นตกใจให้กับเหล่าคนสนิทและราชวงศ์ที่มาร่วมงานเป็นอย่างมาก ด้วยเหตุที่รู้กันดีว่าองค์ราชินีอาดาลินน์และกษัตริย์ซาเวียร์นั้นชอบพอกันอยู่ไม่ใช่น้อย

และในขณะที่เหล่าผู้เข้าร่วมต่างชะงัก (แบบไม่ได้นัดหมาย) อยู่นั้น องค์ราชาแห่งสก็อตแลนด์และราชินีแห่งอังกฤษได้เริ่มมีปากเสียงกัน ต่างฝ่ายต่างมีเหตุผลเบื้องหลังการตัดสินใจของตนเอง

 

การวิวาทครั้งนั้น จบลงด้วยการที่ King’s และ Queen’s hand รีบเก็บสัญญาTreatyไปก่อนที่มันจะถูกฉีก และการเริ่มต้นของสงครามเย็นส่วนตัว(ที่กระทบทั้งประเทศ)ระหว่างราชาสก็อตแลนด์และราชีนีแห่งอังกฤษ สงครามเย็นดังกล่าวสร้างผลกระทบเล็กน้อยประปรายต่อนโยบายการขายค้าและความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศ อาทิเช่น การที่จะไม่มีแอปเปิ้ลแดงจากทางสก็อตแลนด์ส่งเข้ามาในอังกฤษในช่วงฤดูใบไม้ร่วงเพราะกษัตริย์ซาร์เวียร์รู้ว่าอาดาลินน์ชอบพายแอปเปิ้ลจากสก็อตแลนด์ในฤดูนี้มากเพียงใด หรือ การที่จะไม่มีใบชาดำจากอังกฤษส่งไปสก็อตแลนด์ในช่วงหน้าหนาวด้วยความที่องค์ราชินีอาดาลินน์รู้ดีว่ามันคือชาโปรดของกษัตริย์ซาร์เวียร์

 

เหตุการณ์ราวๆนี้เกิดขึ้นทุกปี โดยที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆตามแต่ความคิดสร้างสรรค์ของผู้นำทั้งสอง โชคยังดีที่มีเหล่าองครักษ์และที่ปรึกษาคอยดูไม่ให้เกินขอบเขต แต่ก็ไม่อาจห้ามให้เกิดขึ้นได้ จนถึงทุกวันนี้ที่ประชาชนทั้งสองประเทศเริ่มชินชาไปเสียแล้ว

bottom of page